การศึกษาแนวทางการเพิ่มสัดส่วนจำนวนผู้ใช้บริการ Internet Banking ของลูกค้าธนาคารออมสินสำนักพหลโยธิน
คำสำคัญ:
Internet Banking การยอมรับเทคโนโลยี ธนาคารออมสินบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้สมัครใช้บริการ Internet Banking ของธนาคารออมสินสำนักพหลโยธินไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้บริการ ณ ธนาคารออมสินสำนักพหลโยธินที่มีความสนใจใช้บริการ Internet Banking และ 3) ศึกษาแนวทางการเพิ่มสัดส่วนผู้ใช้บริการ Internet Banking ของธนาคารออมสินสำนักพหลโยธิน โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน โดยเริ่มจากการเก็บแบบสอบถามการยอมรับเทคโนโลยีจากลูกค้าที่สมัครใช้บริการ Mymo จำนวน 30 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย 1) สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความ และ และ 2) สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน คือ Pearson correlation และการสัมภาษณ์เชิงลึกพนักงานธนาคารออมสินสำนักพหลโยธินสาขาที่ทำหน้าที่ให้บริการ Internet Banking จำนวน 11 คน และนำผลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุและผล SWOT และ TOWS Matrix สาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้สมัครใช้บริการ Internet Banking ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มลูกค้าที่สมัครบริการ Mymo ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21 – 30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ 20,001 – 30,000 บาทต่อเดือน โดยพบว่า มีการยอมรับเทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.83) พบว่า กลุ่มลูกค้ามีการรับรู้ความง่ายในการใช้งานของบริการ Internet Banking มากที่สุด (x ̅ = 4.27) และพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์การยอมรับเทคโนโลยีในทุกๆ ด้าน และในส่วนของผลการวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้สมัครใช้บริการด้วยผังก้างปลา การวิเคราะห์ SWOT และ TOWS Matrix สาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้สมัครใช้บริการ Internet Banking ไม่เป็นไปตามเป้าหมายสรุปได้ว่า สาเหตุหลัก คือ ความยุ่งยากในการใช้งาน การบริการไม่เหมาะกับชีวิตประจำวัน กังวลเรื่องความปลอดภัย และแนวทางที่เหมาะสมในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ คือ การประชาสัมพันธ์นอกสถานที่ โดยพนักงานที่มีความชำนาญในการแนะนำ จะช่วยเพิ่มสัดส่วนผู้ใช้บริการและรักษาลูกค้าเดิมไว้ได้
References
จักรกฤษณ์ จันจำปา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้และทัศนคติของผู้ใช้บริการธนาคารบนอินเทอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชลิตา เถาว์ชาลี. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ Internet Banking และ Mobile Banking ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,10(2), 12-23.
ฐาณัฐ ทับทิมทอง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการแบบ M-Banking ของธนาคารออมสิน กรณีศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา (น.1070 – 1083). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ณัฐพล สุทธิศักดิ์ศร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านMobile Banking ของธนาคารออมสินในเขตราชบุรี. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ธนาคารออมสิน สำนักพหลโยธิน. (2566). จำนวนผู้สมัครใช้งาน Internet Banking และบริการ Mymo. กรุงเทพฯ:ธนาคารออมสินสำนักพหลโยธิน.
ธนาคารออมสิน. (2567). โครงสร้างองค์กร. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.gsb.or.th/about/organization-structure/
วรวุฒิ บุญมาพบ. (2557). ประยุกต์แนวคิดแบบลีนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง กรณีศึกษาบ้านเดี่ยว 2 ชั้น แบบมาตรฐาน บริษัท ภาพร พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วิชาดา ไม้เงินงาม. (2562). พฤติกรรมและการยอมรับเทคโนโลยีการใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และ ไซเท็ก จำกัด.
หฤทชญา มาเที่ยง. (2563). การออกแบบการสื่อสารทางธุรกิจกรณีศึกษาแบรนด์ WONDER FRUIT น้ำผักและผลไม้อินทรีย์แบบสกัดเย็น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อำพร ศรีหล้าหลวง. (2561). พฤติกรรมการใช้บริการอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ของบุคลากรในศาลอาญา. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat16/6114060064.pdf
Ajzen, I., & Fishbein, M. (1970). Understanding attitudes and predicting social behavior. NJ: Prentice-Hall.
Junadi & Sfenrianto. (2015). A Model of Factors Influencing Consumer's Intention To Use E-payment System in Indonesia. Procedia Computer Science, 59(1), 214-220.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.