ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวไทย ใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร, ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจ, นักท่องเที่ยวไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจและระดับความต้องการปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ในการเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหาร 2) เปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหาร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) กับการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวไทยใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 420 คน สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหารอยู่ในระดับมาก (= 4.05, S.D. = 0.50) และระดับความต้องการปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอยู่ในระดับมาก (= 4.06, S.D. = 0.45) 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหารที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ทุกด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์สูงที่สุด (r = 0.712) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย โดยคำนึงถึงความแตกต่างของกลุ่มเป้าหมายและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการตลาดและการพัฒนาคุณภาพการบริการ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ปี 2563 และแนวโน้มปี 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จิรพร มหาอินทร์. (2565). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 16(1), 222-238.
ธนภูมิ อติเวทิน. (2564). แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทยภายหลังวิกฤตโควิด-19. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 16(2), 68-82.
นิติพล ภูตะโชติ. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงอาหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(1), 1-22.
พัชรินทร์ เสริมการดี. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(2), 16-30.
วิภาวดี ทองยืน. (2565). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 23(1), 209-224.
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร, วรรณา ศิลปอาชา และฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2564). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดน่าน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 324-339.
สุพรรณี พรภักดี. (2564). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทย: โอกาสและความท้าทาย. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 17(2), 1-18.
Balderas-Cejudo, A., Patterson, I., & Leeson, G. W. (2019). Senior foodies: A developing niche market in gastronomic tourism. International Journal of Gastronomy and Food Science, 16, 100152.
Bešlić, I., & Ćorluka, G. (2020). Factors influencing tourists' satisfaction with food and beverage offer: A study of Dubrovnik restaurant scene. Tourism in Southern and Eastern Europe, 5, 81-92.
Büyükşalvarcı, A., Şapcılar, M. C., & Emeç, Ş. (2020). Factors affecting the food tourism behaviors of tourists: The case of Gaziantep. Advances in Hospitality and Tourism Research (AHTR), 8(1), 48-69.
Cao, Y., Li, X., DiPietro, R., & So, K. K. F. (2021). The creation of memorable dining experiences: Formative and reflective approaches. International Journal of Hospitality Management, 95, 102943.
Choe, J. Y. J., & Kim, J. H. (2021). Determinants of tourists' satisfaction with a food tourism destination: The case of Jeonju Hanok village in South Korea. Tourism Management Perspectives, 38, 100792.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Creswell, J. W., & Creswell, J. D. (2018). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches (5th ed.). SAGE Publications.
de Leeuw, E. D. (2018). Mixed-mode: Past, present, and future. Survey Research Methods, 12(2), 75-89.
Dillman, D. A., Smyth, J. D., & Christian, L. M. (2014). Internet, phone, mail, and mixed-mode surveys: The tailored design method (4th ed.). Wiley.
Dimova, L. (2020). Determinants of food tourist's perceived value and satisfaction: The case of Plovdiv, Bulgaria. In V.
Katsoni & T. Spyriadis (Eds.), Cultural and Tourism Innovation in the Digital Era (pp. 199-212). Springer.
Fowler, F. J. (2014). Survey research methods (5th ed.). SAGE Publications.
Garibaldi, R., & Pozzi, A. (2020). Developing gastronomic tourism in Italy: Critical issues and opportunities. Tourism Review, 76(1), 197-208.
Israel, M., & Hay, I. (2006). Research ethics for social scientists. SAGE Publications.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 1-55.
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.
Piramanayagam, S., Sud, S., & Seal, P. P. (2020). Relationship between tourists' local food experiencescape, satisfaction and behavioural intention. Anatolia, 31(2), 316-330.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Sharma, R., Chadha, S. K., & Puranik, U. (2021). Integrated marketing communications and gastronomy tourism. In S. Kumar & N. Kumar (Eds.), Sustainable Tourism Marketing (pp. 107-122). Apple Academic Press.
Wondirad, A., Kebete, Y., & Li, Y. (2022). Motivations, experiences and satisfaction of culinary tourists: Evidence from Ethiopia. Journal of Destination Marketing & Management, 23, 100675.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.