แนวทางในการลดค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยเทคนิค PM และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างถนนด้วยเทคนิค CPM กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ABC
คำสำคัญ:
โครงการก่อสร้างถนน การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การบริหารโครงการก่อสร้างด้วย CPMบทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการลดค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรและส่งมอบโครงการก่อสร้างถนนได้ตามระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากปัจจุบันเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างถนนไม่เคยได้รับการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ก่อนนำไปใช้งานจะพบว่ามีอาการผิดปกติก็ต่อเมื่อใช้งานไปสักระยะนึงจนเครื่องจักรมีอาการผิดปกติจนกระทั่งไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ เมื่อได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์หาสาเหตุ พบว่า เกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1) ขาดพนักงานรับผิดชอบประจำเครื่องจักร 2) ขาดการตรวจสอบเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ และ 3) เครื่องจักรมีอายุการใช้งานมานาน ซึ่งหากองค์กรมีโครงการก่อสร้างถนนที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องหลายโครงการ จะส่งผลกระทบทำให้การส่งมอบงานไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้, ต้นทุนโดยรวมของโครงการเพิ่มขึ้น, และส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ว่าจ้างซึ่งอาจทำให้องค์กรสูญเสียโอกาสในการรับงาน ผู้วิจัยจึงนำทฤษฎีการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)และการบริหารโครงการก่อสร้างด้วยเทคนิค CPM (Critical Path Method) มาปรับใช้ในการทำงานในปัจจุบันซึ่งการบำรุงรักษาเชิงป้องกันจะเก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้ในงานแอสฟัลท์ติก ได้แก่ รถปูยาง, รถบดล้อยาง, รถบดสั่นสะเทือน, รถสเปรย์น้ำ, และรถสเปรย์ยาง ส่วนการบริหารงานด้วยเทคนิค CPM จะเลือกทดลองเฉพาะโครงการก่อสร้างถนนที่มีค่าปรับมากที่สุดจำนวน 1 โครงการ โดยมีค่าใช้จ่ายและระยะเวลาเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของงานวิจัย หลังจากทดลองดำเนินการเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่า การทำ Preventive Maintenance ก่อนนำเครื่องจักรไปใช้งานช่วยป้องกันความเสียหายจากการซ่อมแซมครั้งใหญ่ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายการซ่อมเครื่องจักรลดลง 38.09% ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรและลดค่าใช้จ่ายการเช่าเครื่องจักรจากผู้ประกอบการรายอื่น นอกจากนี้การบริหารโครงการก่อสร้างด้วยเทคนิค CPM ช่วยให้องค์กรส่งมอบโครงการก่อสร้างถนนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดและลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 43,930 บาท คิดเป็นร้อยละ 58.87
References
ชยพล อึงบวรตระกูล. (2563). การศึกษาความเสี่ยงต่อการบริหารโครงการก่อสร้างอาคารในมุมมองของผู้บริหาร และควบคุมการก่อสร้าง. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิรัติศัย ทุมวงษา. (2561). เข้าถึงได้จาก แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2561-63 ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา.
ปาริสา ศิริพันธุ์. (2563). การจัดการงานบำรุงรักษาระดับปฏิบัติการสำหรับเครื่องจักรของงานสร้างถนน. Engineering Journal of Research and Development, 31(3), 1-17.
ภูมิ จาตุนิตานนท์, และ วรวุฒิ กังหัน. (2564). การบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน กรณีศึกษา : บริษัทผลิตเบาะรถยนต์. Sau Journal of science & technology, 7(1), 1-13.
วัชชิเนตร หมั่นสาน. (2562). การประเมินมูลค่าในการลดเวลาของโครงการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาล. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศุภิสรา พันธ์ดารา. (2564). การวิเคราะห์นโยบายการจัดหาเครื่องจักรสำหรับธุรกิจสร้างถนน. Engineering Journal of Research and
Development, 32(2), 1-15. SCB EIC Industry insight. (2023, May). www.scbeic.com. Retrieved from https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/8997/gkvm085n8w/Industry-Insight_Construction_20230512.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.