การใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (SCB Mobile Banking) ของผู้รับบริการจากธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเพชรบุรีตัดใหม่
คำสำคัญ:
การยอมรับเทคโนโลยี , พฤติกรรมของผู้รับบริการ , ธนาคารทางโทรศัพท์มือถือบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้รับบริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือ (SCB Mobile Banking) ของผู้รับบริการจากธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเพชรบุรีตัดใหม่ (2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการยอมรับเทคโนโลยี ต่อการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่าน ธนาคารทางโทรศัพท์มือถือ (SCB Mobile Banking) ของผู้รับบริการจากธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเพชรบุรีตัดใหม่ และ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการยอมรับเทคโนโลยีต่อการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารทางโทรศัพท์มือถือ จำแนกตาม ลักษณะทางประชากรศาสตร์ และพฤติกรรมของผู้รับบริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มาใช้บริการธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเพชรบุรีตัดใหม่ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสอบถาม ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการรับบริการ ด้านการรับบริการคือ การลงทุนและการออมทรัพย์รูปแบบอื่น ๆ ความถี่ในการรับบริการคือ 1 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลาที่เคยใช้บริการคือ 1 - 2 ปี ช่วงเวลาที่ใช้บริการคือ 12.01 – 13.00 น. และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการคือตนเอง ร้อยละ 51.50 (2) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการยอมรับเทคโนโลยีในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พฤติกรรมการรับบริการ ความถี่ในการรับบริการ ระยะเวลาที่เคยใช้บริการ และช่วงเวลาที่ใช้บริการ ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี ต่อการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารทางโทรศัพท์มือถือ (SCB Mobile Banking) แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
References
เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2567). ธุรกรรมการชำระเงินผ่านบริการ Mobile Banking และ Internet Banking. สืบค้น จาก https://app.bot.or.th. สืบต้นเมื่อ 21 มีนาคม 2567.
นาตายา ศรีสว่างสุข. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับแอปพลิเคชั่นมายโมในการทำธุรกรรม ทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ : กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
นิพนธ์ บัวบาน, ทรงพร หาญสันติ และ ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2566). การยอมรับเทคโนโลยีและความสำเร็จของระบบ สารสนเทศที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้โดยมีความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นตัวแปรส่งผ่าน กรณีศึกษาแอปพลิเคชันKrungthai NEX. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 17(27): 1–20.
ปฐมาภรณ์ จันทร์วิภาวี. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้บริการธุรกรรมการเงินโมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking). สารนิพนธ์นี้บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต.
ปาลี คล้ายเพชร. (2559). การเปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยี Mobile Banking กรณีศึกษา MYMO กับ K PLUS ใน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ศุภรัตน์ ถาวรชื่น. (2560). ความคาดหวังและความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ แอปพลิเคชัน KTB netbank ของผู้รับบริการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภิสรา คุณรัตน์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน แอพพลิเคชั่นโมบายแบงก์กิ้งของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.
Nitin, N., Vikasm, N., and Nancy, G. (2014). A Study of adoption behavior mobile banking service by indian consumers. International Journal of Research in Engineering & Technology, 2(3): 209-222.
Leon G. S., and Leslie, L. K. (1991). Consumer Behavior. 4th ed. Englewood Cliffs, NJ : Prentice - Hall.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Harper and Row: New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.