การศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ให้บริการเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการสีเขียวที่ส่งผลต่อผลการดําเนินงานอย่างยั่งยืนของธุรกิจโรงแรม ในอําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศิรินธร เอี๊ยบศิริเมธี อาจารย์ประจําหลักสูตร คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โรงแรมสีเขียว, ผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน, คุณภาพการให้บริการสีเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสีเขียว ของโรงแรม ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของธุรกิจโรงแรม ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงแรม จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานโรงแรมส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสีเขียว ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปน้อย พบว่า พนักงานโรงแรมส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสีเขียวด้านการตลาด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการใช้เทคโนโลยี ตามลำดับ และ 2) พนักงานโรงแรมส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของธุรกิจโรงแรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปน้อย พบว่า พนักงานโรงแรมส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของธุรกิจโรงแรม ด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความยั่งยืนขององค์กร ด้านผลการตอบรับของลูกค้า และด้านการสร้างความได้เปรียบ ตามลำดับ

References

บุญซม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น .(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปรัทยุมน เลปนานนท์ และ อัศวิน แสงพิกุล.(2566).การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยเกี่ยวกับโรงแรมสีเขียวในประเทศไทย.วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.),29(1),10-23

ปิยะดา วชิระวงศกรa, และอุษณีย์ ทิมสูงเนิน.(2558).การประเมินการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการประเภทโรงแรมในเขตภาคเหนือตอนล่าง.วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม,11(1),98-113

ศรากุล สุโคตรพรหมมี และคณะ.(2566).ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่มีต่อประสิทธิภาพในการผลิตมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อมในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่.วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,6(3), 54 – 72

สานิตย์ หนูนิล และประสพชัย พสุนนท์. (2557). พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี,8(1),16-33

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Robinot, E. & Giannelloni, J. (2010). Do hotels “Green” attributes contribute to customer satisfaction? Journal of Services Marketing, 24(2), 157 – 169

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23

How to Cite

เอี๊ยบศิริเมธี ศ. . (2024). การศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ให้บริการเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการสีเขียวที่ส่งผลต่อผลการดําเนินงานอย่างยั่งยืนของธุรกิจโรงแรม ในอําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม, 1(1), 38–46. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/772