ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้งาน Application Microsoft Teams กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คำสำคัญ:
การตัดสินใจใช้งาน Application Application Microsoft Teams การยอมรับเทคโนโลยีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งาน Application Microsoft Teams กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจใช้งาน Application Microsoft Teams กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้งาน Application Microsoft Teams กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นการวิจัยรูปแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Questionnaires) ผ่าน Google Form ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เคยใช้ Application Microsoft Teams อย่างน้อย 1 ครั้งภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 391 คน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการการยอมรับการใช้งาน Application Microsoft Teams กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การตัดสินใจใช้งาน Application Microsoft Teams กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คือ การตระหนักถึงปัญหาหรือความต้องการ (Problem or Need Recognition) ผู้ใช้มีความตั้งใจใช้งาน Microsoft Teams และ 3) ปัจจัยการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน (Perceived Ease of Use) การรับรู้ถึงประโยชน์ (Perceived Usefulness) และการใช้งานจริง (Actual System Use) ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้งาน Application Microsoft Teams ในมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Davis, F. D., Bagozzi, R., และ Warshaw, P. (1989). User acceptance of computer technology A comparision of two theoretical models. Management Science, 35(8), 982-1003.
Ajzen, I. (1985). From intentions to actions: A theory of planned behavior. Action control: From cognition to Behavior. Berlin, Heidelberg: Springer Berlin Heidelberg.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York : Harper & Row.
จุฬาลักษณ์ บารมี. (2551). สถิติเพื่อการวิจัยทางสุขภาพ และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. ชลบุรี: ศรีศิลปการพิมพ์.
ธัญชทิพย์ หวานทอง, ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์, และเชษฐ์ภณัฏ ปัญญวัชรวงศ์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้งานโมบายแอปพลิเคชันภายใต้การยอมรับเทคโนโลยีของพนักงานบริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ด แอนด์ มาเก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน). Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University (Graduate Studies), 1(1), 47-57.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิสชา เชาวน์วุฒิกุล. (2565). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชัน ALIST OPAC กรณีศึกษา สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2563). ประกาศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ 59/2563 [ประกาศ]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
มณีรัตน์ อินพูล, และสุมาลี รามนัฏ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันมายโม่ของธนาคารออมสิน กรณีศึกษา ลูกค้าธนาคารออมสินในเขตจังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 123-132.
สุพรรณี บุญหนัก, และจักรกฤษณ์ โพดาพล. (2564). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วย Microsoft Teams Application ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. เลย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
สำนักทะเบียนและวัดผลมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2567). ข้อมูลทะเบียนและวัดผลมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. เข้าถึงได้จาก https://registrar.utcc.ac.th/
ศิวธิดา ทรัพย์เหมือน. (2563). ผลของการใช้ Microsoft Teams ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ.
ทรงภพ ขุนมธุรส, ป ประภัสสนันทน์ เรืองจันทร์ และ ชญาตี เงารังสี. (2565). ผลการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยไมโครซอฟท์ ทีมส์ ในรายวิชาวรรณกรรมร่วมสมัย. Journal of Modern Learning Development, 7(1), 1-11.
ภัททิยา ลือมอญ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชัน Skyscanner ของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร
วีณัฐ สกุลหอม, จิระ จิตสุภา, อลงกรณ์ เกิดเนตร, และเบญจวรรณ กี่สุขพันธ์. (2565). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยแอปพลิเคชันตระกูล Google และ Microsoft. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(3), 357-369.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.