การศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติ การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้า และรูปแบบการดำเนินชีวิต ของผู้ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • พลอยนภัส อนันต์เดชจิรกุล นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • กิตติพงษ์ โสภณธรรมภาณ อาจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

คำสำคัญ:

นาฬิกาเพื่อสุขภาพ การรับรู้ ทัศนคติ ภาพลักษณ์ตราสินค้า รูปแบบการดำเนินชีวิต

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติ การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้า และรูปแบบการดำเนินชีวิตผู้ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพ โดยตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้ที่ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพในกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 คน โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานใช้ One-way ANOVA โดยผลการวิจัย พบว่า 1) การเปรียบเทียบการรับรู้ของผู้บริโภคนาฬิกาเพื่อสุขภาพด้านทัศนคติ จำแนกตามตราสินค้านาฬิกาเพื่อสุขภาพ พบว่า ผู้ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพที่มีตราสินค้าแตกต่างกันในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ด้านทัศนคติไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านอารมณ์ความรู้สึก ที่มีระดับการรับรู้ด้านทัศนคติที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) การเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้บริโภคนาฬิกาเพื่อสุขภาพ ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า จำแนกตามตราสินค้านาฬิกาเพื่อสุขภาพ พบว่า ผู้ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพที่มีแบนแตกต่างกันในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านคุณลักษณะมีระดับการรับรู้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) การเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินชีวิตจำแนกตามตราสินค้านาฬิกาเพื่อสุขภาพ พบว่าผู้ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพที่มีแบนแตกต่างกันในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน ยกเว้นด้านความคิดเห็นมีระดับการรับรู้ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กานต์ ภักดีสุข (2560). ปัจจัยด้านทัศนคติปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

จตุพร สุขศรี (2560). ความคาดหวังตัวสินค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าและความภักดีในตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อนาฬิกาอัจฉริยะ ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

จีรนันท์ สุธิตานนท์ (2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของลูกค้ากล่มเจนเนอเรชั่นวายที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทเสื้อผ้าแฟชั่น. (วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ปริยรุฬห์ ไผทฉันท์ (2561). การโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง การยอมรับเทคโนโลยี และทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจาก Shopee ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

พรรัตน์ รูปสูง (2561). การศึกษาภาพลักษณ์องค์กร ภาพลักษณ์ตราสินค้า และค่านิยมส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านระดับซุปเปอร์ลักชัวรี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

พินิจนันท์ อ่อนพานิช (2560). โมเดลสมการโครงสร้างของแรงจูงใจ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีน. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ).

วรรณธิกา คำบุญมา (2561). ส่วนประสมทางการตลาดและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์โตโยต้า วีออส ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (บทความวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) 14/2 2561 (301 - 311)

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. 2545. จิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศิวบูรณ์ ธนานุกูล (2554). ภาพลักษณ์ตราสินค้ามีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองค่ายญี่ปุ่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ศิริกุล สัมฤทธิ์นันท์ (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้ากับพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางเกาหลีของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ).

ธีรพร อุวรรณโณ. (2523). ทัศนคติ : มโนทัศน์ที่ไม่ต้องการคำนิยาม. วารสารจิตวิทยาม.

Aaker , D.A. and Joachimsthaler , E. 2000 . Brand leadership , New York : The Free Press.

Aghekyan , M. (2012). The role of product brand image and online store image on perceived risks and online purchase intentions for apparel. Journal of Retailing and Consumer Services, 2012(3), 325-331.

Metin Kozak and Luisa Andreu (2006). Progress in Tourism Marketing. Amsterdam : The Netherland.

Jayasree Krishnan. (2011). Lifestyle – A Tool for Understanding Buyer Behavior. Journal of Economics and Management, 5(1), 283-298.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

อนันต์เดชจิรกุล พ., & โสภณธรรมภาณ ก. . (2024). การศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติ การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้า และรูปแบบการดำเนินชีวิต ของผู้ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพ. วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม, 1(3), 37–47. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1002